Layer ของ OSI Model
1.Physical Layer
เป็นคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสุที่ใช้เป็นสื่อกลาง ตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector), ระดับความต่างศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshielded Twisted Pair (UTP)
2.Data link Layer
เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Sub Layer) คือ
Logical Link Control (LLC) Media Access Control (MAC)
การแบ่งแยกจะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับ Address ทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐาน Internet และ Token Ring Address ทางกายภาพนี้จะถูกฝังมาใน LAN Card โดยบริษัทผู้ผลิต
Address ทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับ Address ทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูกใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link นี้
3.Network Layer
เป็นการเชื่อมต่อและ การเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลระหว่าง เครื่องสองเครื่องในเครือข่าย
ชั้น Network ยังให้บริการเชื่อมต่อในแบบ "Connection Oriented" อย่างเช่น X.25 หรือบริการแบบ "Connectionless" เช่น Internet Protocol
ตัวอย่างของโปรโตคอลในชั้นนี้ประกอบด้วย Internet Protocol (IP) และ Internet Control Message Protocol (ICMP)
4.Transport Layer
บริการด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบาง โปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้น Transport นี้
"Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการใช้งานกันมากที่สุด"
5.Session Layer
ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ, การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "เซสชัน" (Session) หมายถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไป อย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็กเก็ต (Packet) ของข้อมูล จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่าง สมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการรับ/ส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่าง เพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลง ตัวอย่าง ของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่ การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการกดหมายเลข ปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการ บางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียง ดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมื่อมีการทักทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่ จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Session นี้มีระบบการติดตามด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซีงเรียกว่า "Dialog Management"
Simple Mail Transport Protocol (SMTP), File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้น Session, Presentation และ Application
6.Presentation Layer
บริการทำการตกลงกันระหว่างสองโปรโตคอลถึงไวยากรณ์ (Syntax) ที่จะใช้ในการรับ/ส่งข้อมูล เนื่องจากว่าไม่มีการรับรองถึงไวยากรณ์ที่จะใช้ร่วมกัน การทำงานในชั้นนี้ จึงมีบริการในการแปลข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอด้วย
7.Application Layer
ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง ISO/OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การทำ E-mail Exchange (การรับ/ส่งอีเมล์), การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นๆ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiXYkebXnhocEpFdbJwU1-fjRKPeENosUQ0RW3-uznSXO25T4KayzVDtWRULx6B2U4KHXjUS__K-CjqxNOM2g2A3MKl4JSVAPKfeNtFGxoJmh4XHhe18YkiN49RVX1qSlH6CkOgr-MQZWk/s320/osi+model.jpg)
จากรูปเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง OSI Model กับการสื่อสารของ Internet โดยจะแสดงรูปแบบข้อมูล, data และอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในแต่ละ Layer
เป็นยังไงกันมั้งค่ะ OSI Model ถือเป็นพื้นฐานของ Network เลยทีเดียว ซึ่งหากเราเข้าใจหลักการทำงานของมันแล้ว เราจะสามารถออกแบบและวิเคราะห์ Network ต่างๆ ได้ง่ายเลยทีเดียว แถมอีกนิดละกันนะค่ะเกี่ยวกับหน่วยของ ข้อมูลต่างๆ ที่เราเคยได้ยิน ว่าแต่ละแบบคืออะไรข้อมูลที่ส่งในระบบเครือข่าย มีหลายรูปแบบที่หลากหลาย แต่รูปแบบทั่วไปที่เรียกข้อมูลได้แก่
Frame | หน่วยของข้อมูลในระดับ Data link Layer |
Packet | หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer |
Data gram | หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Connectionless |
Segment | หน่วยของข้อมูลในระดับ Transport Layer |
Message | ระดับข้อมูลในเหนือ Network Layer มักจะหมายถึงระดับ Application Layer |
Cell | หน่วยข้อมูลที่มีขนาดแน่นอนในระดับ Data link Layer ใช้เป็นหน่วยในลักษณะการส่งข้อมูลแบบสวิตซ์ เช่น Asynchronous Transfer Mode (ATM) หรือ Switched Multi megabit Data Service (SMDS) |
Data unit | หน่วยข้อมูลทั่วไป |
No comments:
Post a Comment