Monday, 25 April 2011

Install Windows Server 2008 R2

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน วันนี้เกิดพายุฤดูร้อนค่ะ ฝนตกทั่ว กทม. ค่ะ เเทบไม่อยากตื่นไปทำงาน เเต่ก็ด้วยหน้าที่เเล้ว ก็ต้องทำตามหน้าที่่ ที่ได้รับมอมหมาย มาให้ดีที่สุด วันนี้ นำวิธีการ Install Windows Server 2008 R2 มาฝากกันค่ะ มีภาำพประกอบด้วย เพื่อนๆ จะได้ ดูตามไม่อยากค่ะ เพื่อนๆ สามารถทดลองไปลง หรือลองฝึกมือเล่นได้ค่ะ ฝึกการเป็น Admin ได้เป็นอย่างดี ค่ะ

ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 ได้เพิ่มความสามารถหลายอย่างค่ะ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Security, การบริการจัดการเซิร์ฟเวอร์ที่จุดศูนย์รวมจุดเดียว (Server Manager)

ความต้องการของระบบ
- CPU ขั้นต่ำ 1 GHz (x86 processor) หรือ 1.4 GHz (x64 Processor)
- RAM ขั้นต่ำ 1 GB
- HDD ขั้นต่ำ 10 GB (แนะนำควรเป็น 40 GB)
- DVD-ROM Drive
- Super VGA ความละเอียด 800x600 pixel

*ศึกษาเพิ่มเติม http://www.microsoft.com/thailand/windowsserver2008/pricing.aspx

สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการติดตั้ง Windows Server 2008
1. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hostname ในระบบวิโดวส์เรียกว่า Computer Name )
2. รายละเอียดของ IP Address
สำหรับรายละเอียดของไอพีแอดเดรส กรณีตั้งเป็นโฮสต์บริการในโลกอินเทอร์เน็ต ต้องมีชุดของ IP Address จริง ทำการระบุในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้ง ตัวอย่างรายละเอียดหมาย
เลขของพีแอดเดรส อาทิเช่น
IP Address : 203.159.231.172
Subnet mask : 255.255.255.192
Gateway : 203.159.231.1
Name Server : 203.159.231.172, 203.159.231.46 < DNS ของศูนย์บริการที่ใช้งานอยู่

ขั้นตอนการติดตั้ง Windows Server 2008
1. ทำการตั้งค่า BIOS ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บู๊ตจาก CD-ROM หรือ DVD-ROM
2. ใส่แผ่น CD ตัวติดตั้งแล้วทำการบู๊ตเครื่องใหม่
3. ระบบแสดงเมนูเข้าสู่การติดตั้ง ให้เลือกภาษาที่ต้องการใช้งานเป็น English, รูปแบบวัน เวลา และชนิดแป้นพิมพ์ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Next



เลือกภาษา วันเวลา และชนิดแป้นพิมพ์ที่ต้องการใช้งาน
4.คลิกที่ปุ่ม Install เพื่อเข้าสู่การติดตั้ง



5.ใส่หมายเลขผลิตภัณฑ์ (Product Key) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next



6. เลือกรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการติดตั้ง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next


7. ระบบรายงานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้คลิกเลือกที่ [*] I Accept License Terms เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next





8. คลิกเลือกที่ Custom (Advanced)



9. เลือกดิสก์ที่ต้องการติดตั้งระบบ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next



10. ระบบจะเริ่มคัดลอกไฟล์ลงฮาร์ดดิสก์ พร้อมเริ่มทำการติดตั้งระบบ



11. คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อเข้าสู่หน้าต่างกำหนดระหัสผ่าน



12. กำหนดรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ



13. คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อยอมรับการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่



14. แสดงหน้าต่างเดสก์ทอปของ Windows Server 2008



การ Login เข้าระบบ
1. หลังจากบู๊ตระบบเข้ามาจะพบกับหน้าต่างให้กำหนเรหัส Administrator
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del



3. ทำการล็อกอินเข้าระบบโดยการป้อนรหัสผ่านเข้าไป



การ Shutdown ออกจากระบบ
1. กรณีที่ต้องการออกจากระบบคลิกที่ปุ่ม Start > เลือก Shutdown



วิธีการ ง่ายๆ ไม่ยาก นะค่ะ ดูตามเเล้วเพื่อนๆ คงเข้าใจกันอยู่เเล้่ว ต่อไป จะเอาโปรแกรมต่างๆ มาลงให้ทุกท่าน สามารถ Download ไปใช้งานได้ เเบบของเเท้ เเบบไม่เสียตังค์ เลยค่ะ อ๋อ เพลงด้วยนะค่ะ จะเอามาลงให้ทุกท่าน ได้ใช่กันค่ะ กำลังรวบรวมโปรแกรมที่น่าสนใจ อยู่ค่ะ ขอให้ทุกท่าน สนุกไปกับ Blog หนูนา นะค่ะ

Wednesday, 20 April 2011

ตรวจสอบ disk ให้เร็ว

การตรวจ สอบ harddisk ก่อนเริ่มการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็น และควรทำทุกครั้งก่อนเริ่มใช้งาน เราสามารถใช้คำสั่งตรวจสอบ disk ด้วย Scandisk โดยสามารถเรียกได้จากเมนู Start เลือก Programs เลือก Accessories และเลือก System Tools ภายในจะมีคำสั่ง Scandisk...

สำหรับหลายๆ คนที่มีการ แบ่ง harddisk เป็นหลาย ๆ drive เช่น C:,D: และ E: เพื่อแยกเก็บข้อมูล การใช้คำสั่ง Scandisk จะต้องเรียกให้ตรวจสอบทีละ drive และจะแสดงผลการตรวจสอบให้ทุกครั้ง ทำให้เสียเวลา บางครั้งอาจใช้เวลานานในการตรวจสอบแต่ละ drive... วันนี้ผมมีวิธีมาบอกว่าจะทำอย่างไรให้ scandisk ให้เร็วดั่งใจ
  1. เปิดโปรแกรม Scandisk จะได้ดังภาพประกอบ


2.คลิกปุ่ม Advanced จะได้ดังภาพ



  • ในช่อง diskplay summary ให้เลือก Only if errors found
  • จากนั้นคลิกปุ่ม OK
  • ในหน้า Scandisk ให้คลิกเลือก drive c:
  • จากนั้นกดปุ่ม Shift ที่ keyboard ค้าง และคลิกเลือก drive ที่ต้องการทำพร้อม ๆ กัน
  • คลิกปุ่ม start เพื่อเริ่มตรวจสอบ drive ที่เลือกทั้งหมดในคราวเดียวกัน

  • Tuesday, 19 April 2011

    การติดตั้ง DHCP Server บน Windows Server 2003

    สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อากาศร้อนค่ะ เเต่วันนี้ พายุฤดูร้อนกำลังเข้าค่ะ ฝนตกหนัก เกือบทุกพื้นที่ วันนี้มีบทความดีดีมากกันค่ะ เหมาะสำหรับ admin ค่ะ การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสให้กับเครื่อง ไคลเอนต์บนระบบเครือข่ายนั้น เป็นหน้าที่หนึ่งของแอดมิน ในกรณีที่เครื่องไคลเอนต์มีจำนวนไม่มาก ตั้งอยู่ในห้องเดียวกันหรือในบริเวณใกล้ๆ กัน การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบแมนนวลนั้น ก็สามารถทำได้โดยไม่มีความซัลซ้อน อะไร แต่ถ้าเครื่องไคลเอนต์มีจำนวนมาก และตั้งอยู่หลายที่หรือห่างไกลกัน การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบแมนนวลนั้น คงเป็นเรื่องยาก การแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรส แบบอัตโนมัติโดยใช้บริการแจก จ่ายหมายเลขไอพีให้เครื่องไคลเอนต์ด้วย DHCP Server ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่มีใน Windows Server 2003

    การติดตั้ง DHCP Server
    บริการ DHCP Server นั้น ก็เหมือนกับบริการอื่นๆ ของ Windows Server2003 คือจะไม่ถูกติดตั้งโดยดีฟอลท์ โดยวิธีการติดตั้ง DHCP Server นั้น ให้ไปที่ Manage Your Server แล้วคลิกที่ Add or remove role จะได้หน้าต่าง Configure Your Wizard ซึ่งจะช่วยในการ Add or remove a role


    ขั้นตอนการติดตั้ง DHCP Server
    การติดตั้ง DHCP Server มีขั้นตอนดังนี้
    1. ในหน้าต่าง Manage Your Server ให้คลิกที่ Add or remove a role
    2. ในหน้าต่าง Preliminary Steps ให้คลิกปุ่ม Next
    3. ในหน้าต่าง Server Role ให้คลิกเลือก DHCP Server แล้วคลิกปุ่ม Next
    4. ในหน้าต่าง Summary of Selections ให้คลิกปุ่ม Next
    5. ในหน้าต่าง Configuring Components ให้รอจนระบบทำงานเสร็จเรียบร้อย แล้วให้คลิก Next
    7. ในหน้าต่าง Applying Selections ระบบจะทำการเพิ่ม Role ให้กับ Server ให้รอจนกว่าระบบงานเสร็จเรียบร้อย แล้วให้คลิก Next
    7. ในหน้าต่าง Welcome to the New Scope Wizard คลิก Cancel ออกจากการสร้าง Scope แล้วให้เลือก Finish

    การจัดการ DHCP Server
    การจัดการ DHCP Server จะใช้สแนป-อิน DHCP Server โดยให้ไปที่ Manage Your Server แล้วคลิกที่ Manage this DHCP Server ซึ่งจากหน้าต่าง DHCP Server แอดมินสามารถทำจัดการด้านต่างๆ เช่น สร้างสโคปใหม่ (New Scope) แก้ไขอ็อปชันของสโคป เป็นต้น

    การสร้างสโคปใหม่
    สโคป (Scope) หมายถึง ช่วงของหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) สําหรับแจกจ่ายให้กับไคลเอนต์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยนอกเหนือจากหมายเลข IP Address แล้ว เรายังสามารถกําหนดค่าอ็อปชันต่างๆ ของสโคป เพื่อนำไปกำหนดให้กับเครื่องไคลเอนต์ได้ด้วย โดยอ็อปชันของสโคปนั้นจะเป็นค่าพารามิเตอร์เสริมต่าง ๆ เช่น หมายเลขไอพีแอดเดรสของดีฟอลต์เกตเวย์, หมายเลขไอพีแอดเดรสของ DNS Server เป็นต้น

    การสร้างสโคปใหม่
    ขั้นตอนการสร้าง DHCP Scope
    1. คลิกขวาที่ชื่อ DHCP Server แล้วเลือก New Scope
    2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Scope Name ให้ตั้งชื่อของสโคปในช่อง Name ควรตั้งชื่อให้ให้สื่อความหมายเพื่อให้ง่ายต่อการจำในส่วนของช่อง Description จะเป็นคําอธิบายจะใส่หรือไม่ก็ได้ เสร็จแล้วคลิก Next
    3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ IP Address Range ให้กําหนดช่วงของหมายเลขไอพีแอดเดรส โดยระบุแอดแดรสเริ่มต้นในช่อง Start IP address และระบุแอดแดรสสุดท้ายในช่อง End address ในช่อง Length นั้นเป็นจํานวนบิตของ Subnet Address ในที่นี้เท่ากับ 24 (255.255.255.0) ซึ่งเป็นค่าดีฟอลท์ Subnet mask โดยสามารถปรับแต่งจํานวนบิตของค่าของ Subnet mask ได้ตามการออกแบบเครือข่าย เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
    4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Exclusions ให้ใส่ช่วงหมายเลขไอพีแอดเดรสที่ไม่ต้องการให้อยู่ในสโคปคลิก Add เสร็จแล้วคลิก Next
    5. ในไดอะล็อกบ็อกซ Lease Duration ให้กําหนดระยะเวลาที่เครื่องไคลเอนต์สามารถใช้งานหมายเลขไอพีแอดเดรสจากสโค ปนี้ได้ โดยปกติค่าดีฟอลต์ของ Lease Duration จะเป็น 8 วัน ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตามต้องการ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
    6. ระบบจะถามว่าต้องการเซต Scope Option เลยหรือไม่ ให้เลือก Yes แล้วคลิกปุ่ม Next
    7. ให้ใส่ค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของดีฟอลต์เกตเวย์, หมายเลขไอพีแอดเดรสของ DNS Server เมื่อมีไดอะล็อกบ็อกซ์ถามตามลําดับ
    8. ระบบจะถามว่าต้องการแอคติเวต (Activate) สโคปนี้เลยหรือไมการแอคติเวตคือการเปิดการใช้งาน Scope เพื่อให้ เครื่องไคลเอนต์สามารถขอหมายเลขไอพีแอดเดรสที่อยูในสโคปดังกล่าวได้ ให้เลือก Yes แล้วคลิก Next เพื่อทำการแอคติเวต
    9. เมื่อทำการแอคติเวต (Activate) สโคปแล้ว จะต้องทำการ Authorize DHCP server ก่อนเพื่อให้อำนาจในการจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรสให้กับเครื่องไคลเอนต์ โดยให้คลิกขวาที่ DHCP server แล้วเลือกเมนู Authorize ซึ่งจะทำการเพิ่มชื่อ DHCP server เข้าใน Authorized list ของฐานข้อมูล Active Directory

    การทดสอบการทำงานของ DHCP Server
    การทดสอบว่าบริการ DHCP server ที่ติดตั้ง สามารถใช้งานได้หรือไม่นั้น ต้องทดสอบจากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่าย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP


    การคอนฟิก Windows XP ให้รับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสจาก DHCP Server
    1. คลิกขวาที่ My Network Places แล้วเลือก Properties
    2. ในหน้าต่าง Network Connection ให้คลิกขวาที่ Local Area Connection แล้วเลือก Properties
    3. ในหน้าต่าง Area Connection Properties ให้เลือกที่ Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิก Properties
    4. ในหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties โดย default จะตั้งค่าเป็น Obtain an IP address Automatically และ Obtain DNS server address Automatically
    5. คลิก OK เพื่อปิดหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties
    6. คลิก OK เพื่อปิดหน้าต่าง Area Connection Properties และจบการตั้งค่า IP Address

    การตรวจสอบการรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของเครื่องไคลเอนต์
    การตรวจสอบว่าเครื่องไคลเอนต์การรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสได้หรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง ipconfig ซึ่งเป็นคำสั่งที่รันจากคอมมานด์พร็อมพ์โดยการเรียกใช้งานนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้
    1. คลิก Start คลิก run พิมพ์ cmd ในช่อง Open แล้วกด enter
    2. ในหน้าต่างคอมมานด์พร็อมพ์ให้พิมพ์ ipconfig /? แล้วกด enter เพื่อดูคำสั่งต่างๆ ที่สามารถใช้ได้
    ตัวอย่าง: การใช้คำสั่ง ipconfig ตรวจสอบการรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรส

    - ดูค่า IP Address ของเครื่อง ให้รันคำสั่ง ipconfig ที่คอมมานด์พร็อมพ์
    C:\>ipconfig
    Windows IP Configuration
    Connection-specific DNS Suffix . :
    IP Address. . . . . . . . . . . . : 192.168.10.56
    Subnet Mask . . . . . . . . . . . : 255.255.255.0
    Default Gateway . . . . . . . . . : 192.168.10.1
    C:\>

    - ดูค่า IP Address ของเครื่องอย่างละเอียด ให้รันคำสั่ง ipconfig /all ที่คอมมานด์พร็อมพ์
    C:\>ipconfig /all
    Windows IP Configuration
    Host Name . . . . . . . . . . . . : WinXP
    Primary Dns Suffix . . . . . . . :
    Node Type . . . . . . . . . . . . : Unknown
    IP Routing Enabled. . . . . . . . : No
    WINS Proxy Enabled. . . . . . . . : No

    Connection-specific DNS Suffix . :
    Description . . . . . . . . . . . : WAN (PPP/SLIP) Interface
    Physical Address. . . . . . . . . : 00-53-45-00-00-00
    Dhcp Enabled. . . . . . . . . . . : No
    IP Address. . . . . . . . . . . . : 192.168.10.56
    Subnet Mask . . . . . . . . . . . : 255.255.255.0
    Default Gateway . . . . . . . . . : 192.168.10.1
    DNS Servers . . . . . . . . . . . : 203.xxx.x.x
    Primary WINS Server . . . . . . . : 203.xxx.x.x
    NetBIOS over Tcpip. . . . . . . . : Disabled
    C:\>

    - ยกเลิกค่า IP Address ที่ได้จาก DHCP ให้รันคำสั่ง ipconfig /release ที่คอมมานด์พร็อมพ์
    C:\>ipconfig /release
    Windows IP Configuration
    The operation failed as no adapter is in the state permissible for
    this operation.
    C:\>

    - ขอรับค่า IP Address ที่ได้จาก DHCP ใหม่ ให้รันคำสั่ง ipconfig /renew ที่คอมมานด์พร็อมพ์

    การทดสอบการทำงาน
    ทดสอบโดยการใช้คำสั่ง ping ไปยังหมายเลขไอพีแอดเดรสของดีฟอลท์เกตเวย์ หรือของเครื่องใกล้เคียง หากได้รับข้อความตามลักษณะของตัวอย่างที่ 1 (Reply from x.x.x.x: bytes=32 time=xxms TTL=255) แสดงว่าการรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสจาก DHCP เซิร์ฟเวอร์ น่าจะถูกต้อง หากได้รับข้อความตามลักษณะของตัวอย่างที่ 2 (Request timed out.) อาจเป็นไปได้ว่าการตั้งค่าไม่ถูกต้อง แต่หากได้รับข้อความตามลักษณะของตัวอย่างที่ 3 (Destination host unreachable) แสดงว่าเครื่องไคลเอนต์ยังไม่ได้รับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสจาก DHCP เซิร์ฟเวอร์

    ตัวอย่างที่ 1:
    C:\>ping 192.168.2.35
    Pinging 10.1.1.1 with 32 bytes of data:

    Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=173ms TTL=255
    Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=281ms TTL=255
    Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=343ms TTL=255
    Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=265ms TTL=255

    Ping statistics for 192.168.2.35:
    Packets: Sent = 4, Received = 4, Lost = 0 (0% loss),
    Approximate round trip times in milli-seconds:
    Minimum = 173ms, Maximum = 343ms, Average = 265ms
    C:\>

    ตัวอย่างที่ 2:
    C:\>ping 192.168.2.35

    Pinging 192.168.2.35 with 32 bytes of data:

    Request timed out.
    Request timed out.
    Request timed out.
    Request timed out.

    Ping statistics for 192.168.2.35:
    Packets: Sent = 4, Received = 0, Lost = 4 (100% loss),
    C:\>

    ตัวอย่างที่ 3:
    C:\>ping 192.168.2.35
    Pinging 192.168.2.35 with 32 bytes of data:

    Destination host unreachable.
    Destination host unreachable.
    Destination host unreachable.
    Destination host unreachable.

    Ping statistics for 192.168.2.35:
    Packets: Sent = 4, Received = 0, Lost = 4 (100% loss),
    C:\>

    Monday, 11 April 2011

    Vaja สร้างเสียงจากข้อความ


    สวัสดีค่ะ ทุกท่าน หายไปอีกเเล้ว เดี๋ยวก็มา เดี๋ยวก็หายไป อิอิ เเต่ความรู้ที่มีให้ยังคง อัดเเน่น เเละ ถูกต้องเสมอค่ะ ใกล้สงกรานต์เเล้วนะค่ะ ทุกท่าน ขอให้เดินทางกลับบ้าน หรือไปเที่ยวกันอย่างปลอดภัยค่ะ ใครที่กลับบ้าน อย่าลืม รดน้ำขอพร ญาติผู้ใหญ่กันนะค่ะ จะได้มีเเรงมาต่อสู้กับงาน ในวันใหม่ ค่ะ นอกเรื่องซะเยอะเลย วันนี้ หนูเอา เทคโนโลยีใหม่ๆ มานำเสนอค่ะ วาจา เวอร์ชั่น 6.0 (VAJATM 6.0) ระบบสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทยคุณภาพสูง ในรูปแบบเว็บบริการ และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

    มีอะไรบ้างในวาจา 6.0 ?

    ส่วนวิเคราะห์ข้อความ (Text analyzer) มีระบบแบ่งคำอัตโนมัติที่ได้รับการพัฒนาล่าสุด สามารถสร้างเสียงพูดได้ครอบคลุมคำในภาษาไทย เนื่องจากมีส่วนวิเคราะห์คำอ่านที่สามารถวิเคราะห์ได้แม้แต่คำที่ไม่ปรากฏใน พจนานุกรม

    ส่วนทำนายสัทสัมพันธ์ (Prosody prediction) ที่ช่วยในการวิเคราะห์ขอบเขตของวลี และการทำนายความยาวของหน่วยเสียง ทำให้เสียงสังเคราะห์มีความเป็นธรรมชาติดังเช่นเสียงพูดของคน

    ส่วนสังเคราะห์เสียง (Speech synthesis) ไ้ด้ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการบีบอัดเสียงต้นแบบเก็บไว้ในแบบจำลองทาง สถิติ ในขณะสังเคราะห์เสียง แบบจำลองทางสถิตินี้จะผลิตเสียงได้อย่างราบเรียบ ไม่เกิดการสะดุด

    อยากใช้งานทำอย่างไร ?

    ผู้สนใจสามารถใช้งานผ่านเว็บบริการ หรือซอฟต์แวร์ API สำเร็จรูป ที่มีความสามารถในการเพิ่มคำเฉพาะ พร้อมทั้งกำหนด คำอ่านได้อย่างอิสระ เพื่อให้สามารถแปลงข้อความมาเป็นเสียงพูดได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

    ระบบอะไรรองรับวาจา 6.0 ?

    • ระบบเซริฟ์เวอร์ใช้งานได้ทั้ง Linux และ Win32 Shell, API บน Win32, หรือเว็บบริการ
    • เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล CPU Pentium 4 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า หน่วยความจำไม่ต่ำกว่า 256 MB ฮาร์ดดิสก์ขนาดไม่ต่ำกว่า 200 MB

    ทดสอบการใช้งานวาจา 6.0 ได้ที่ไหน ?

    ระบบบริการรายงานข่าวออนไลน์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย วาจา เวอร์ชั่น 6.0 ทำงานโดยการแปลงข้อความข่าวสำคัญๆ ประจำวันที่ดึงมาจาก RSS Feed ของแหล่งข่าวชั้นนำ เช่น MCOT, TPBS, ASTV Manager และ CH7 เป็นต้น ไปเป็นเสียงพูด

    ระบบโทรศัพท์ โทร 02-565-7008 รับฟังรายงานข่าวจากระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ

    ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต http://www.hlt.nectec.or.th/speech/nvis โดยติดตั้งโปรแกรม “NVIS Desktop” เพื่อเชื่อมต่อ กับเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการรายงานข่าวผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือกดฟังรายงานข่าวโดยตรงจากเว็บไซต์


    ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ API วาจา 6.0 ได้

    http://www.hlt.nectec.or.th/speech